การนับก้าวเดิน จะนับจากการแกว่งแขนค่ะ เพราะนาฬิกาสวมใส่ที่ข้อมือ จึงไม่รู้ว่าเราเดิน จากจุด A ไปจุด B หรือไม่ จึงใช้หลักการของการแกว่งแขนเข้ามาช่วยค่ะ
การแกว่งแขนก็จะเป็นเซนเซอร์ตัวเดียวกับการนับแคลอรี่ค่ะ ถ้าใส่แล้วมีการขยับตัว เซนเซอร์ตัวนี้ก็จะทำการวัดทั้ง 2 ข้อมูล
หลายๆท่านเลยสงสัยว่า ทำไมวัดก้าวเดินถึงไม่ตรง จากการทดลองมาหลายรุ่นจึงพบว่า รุ่นที่ไม่มี gps ในตัว จะวัดจากการแกว่งแขนทุกรุ่น ถ้าใส่แล้วนับก้าวเดินจากการแกว่งแขนอย่างเดียว จะนับตรง 100% ค่ะ
แต่ถ้าใส่ทั้งวัน แล้วเรามีการขยับตัว ถ้าเซนเซอร์จับการเคลื่อนไหวไม่ทำงาน การนับแคลอรี่ก็จะไม่มีค่าขึ้น แล้วที่นี่จะบังคับให้ก้าวเดินไม่ขึ้นก็ไม่ได้ เพราะใช้เซนเซอร์ตัวเดียวกัน มันจึงขึ้นค่าทั้ง 2 ค่า จึงทำให้ผู้ใช้บางท่านรู้สึกว่า ทำไมก้าวเดินถึงขึ้นเยอะจัง ทั้งๆที่ไม่ได้เดิน แต่ถ้ามีการขยับร่างกายเซนเซอร์จับการเคลื่อนไหวทำงาน จึงนับเป็นก้าวเดิน และแคลอรี่ค่ะ
สำหรับรุ่นที่มี GPS ในตัว จะมีโหมดการเดินเข้ามาช่วยคำนวนร่วมกับ GPS จึงทำให้มีความแม่นยำขึ้น แต่หากเป็นการนับก้าวเดินแบบอัตโนมัติ ก็จะคำนวนจากการแกว่งแขน ร่วมกับอัลกอริทึ่มตัวอื่น เช่น ความเร็วในการเคลื่อนที่ เซนเซอร์วัดการกระแทก หรือ การแกว่งขึ้นๆลงๆ ตรงนี้แม้แต่แบรนด์ดังๆ หากเราใส่นั่งรถ ก็อาจจะมีก้าวเดินนับขึ้นมาอัตโนมัติได้ค่ะ
จากผลการทดลอง ของสถาบัน CNBC กับนาฬิกาแบรนด์ดังต่างๆ ในเรื่องการวัดก้าวเดินนะคะ
.
นาฬิกา และ สายรัดข้อมือ ทุกรุ่น ใช้ Accelerometer sensor หรือเซ็นเซอร์วัดการเคลื่อนไหว โดยใช้การขยับของแขน และข้อมือ เป็นข้อมูลในการตั้งสมมติฐานว่า เรากำลังเดินอยู่
.
ทำให้การขยับข้อมือ หรือ การสั่นสะเทือน ในลักษณะคล้ายกับการแกว่งแขน หรือการขยับข้อมือ จะทำให้ตัวเซนเซอร์อาจมีการประมวลผลว่า เป็นการก้าวเดินได้
.
จากตัวอย่างการทดสอบในรูป นาฬิกาทุกรุ่น จะให้ค่าการเดินที่ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับการขยับข้อมือ หรือ การแกว่งแขน ในขณะที่ใส่นาฬิกาอยู่นั่นเองค่ะ ค่าที่ขึ้นในระหว่างการนั่งรถ หรือ นั่งเฉยๆ แล้วแกว่งแขน จึงมีค่าการเดินขึ้นค่ะ ^_^
.
และค่าการนอนในแต่ละรุ่น ก็จะให้ค่าที่ไม่เท่ากัน จากเซนเซอร์ และความไว ที่ใช้ในการวัดเช่นกันค่ะ